เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐ
ต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการ ตามมาตรา 7(1) - (3) เกี่ยวกับโครงสร้างการจัดองค์กรในการดำเนินงานอำนาจหน้าที่และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร โดยจัดให้มีการพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
1. โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน อำนาจหน้าที่ที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง เป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. องค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง มีโครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
1) สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
1 คน รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน เลขานุการฯ 1 คน และ
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 36 คน (18 หมู่บ้าน)
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล
๒) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างขอบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
๓) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
๒. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง จำนวน ๑ คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๑) กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
๒) สั่ง อนุญาตและอนุมัติเกี่ยวกับราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล
๓) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
๔) วางระเบียบเพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
๕) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
-2-
๗) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล
๒.1) รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง จำนวน ๒ คน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง ตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย
๒.2) เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่งจำนวน ๑ คน ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง
โดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่งและมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง มีหน้าที่ปฏิบัติ
งานตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่งมอบหมาย
สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง แบ่งส่วนราชการ ออกเป็น 4 ส่วนคือดังนี้
๑) สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล รับผิดชอบงานด้าน
- งานบริหารงานทั่วไป
- งานนโยบายและแผน
- งานสวัสดิการและพัฒนาชุมชน
- งานประชาสัมพันธ์
- งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
- ศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียน ร้องทุกข์
-ศูนย์ดำรงธรรม อบต.ป่าหุ่ง
- ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์
- ศูนย์ยุติธรรมชุมชน
๒) กองคลัง รับผิดชอบงานด้าน
- งานการเงินและบัญชี
- งานพัสดุ
- งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้
- งานทะเบียนทรัพย์สินและแผนที่ภาษี
- งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
๓) กองช่าง รับผิดชอบงานด้าน
- งานก่อสร้าง
- งานออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง
- งานประสานด้านสาธารณูปโภค
- งานผังเมือง
- งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
4) กองการศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
- งานส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง
- งานส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด องค์การบริหารส่วนตำบล ป่าหุ่ง
- งานสนับสนุนกิจการศาสนา
- งานสนับสนุนศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่น
-3-
- งานสันทนาการ
- งานอื่นๆที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย
๓.๑) หน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(๒) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอย
และสิ่งปฏิกูล
(๓) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
(๔) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๕) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
(๖) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และ ผู้พิการ
(๗) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๘) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
๓.๒) หน้าที่อาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
(๒) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(๓) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
(๔) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
(๕) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
(๖) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
(๗) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
(๘) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
(๙) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
(๑๐) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
(๑๑) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
(๑๒) การท่องเที่ยว
(๑๓) การผังเมือง
๓.๓) อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังต่อไปนี้
(๑) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
(๒) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
(๓) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
(๔) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
(๕) การสาธารณูปการ
(๖) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
(๗) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
-4-
(๘) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
(๙) การจัดการศึกษา
(๑๐) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
(๑๑) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของ ท้องถิ่น
(๑๒) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(๑๓) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(๑๔) การส่งเสริมกีฬา
(๑๕) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(๑๖) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
(๑๗) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(๑๘) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
(๑๙) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(๒๐) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(๒๑) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(๒๒) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
(๒๓) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ
และสาธารณสถานอื่น ๆ
(๒๔) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๒๕) การผังเมือง
(๒๖) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
(๒๗) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(๒๘) การควบคุมอาคาร
(๒๙) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๓๐) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษา
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(๓๑) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ
ประกาศกำหนด
องค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ดังนี้
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
(1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก มาตร67 (1)
(2) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร มาตรา68(1)
(3) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น มาตรา68(2)
(4) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ มาตรา 68(3)
-5-
(5) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ มาตรา 16(4)
(6) การสาธารณูปการ มาตรา16(5)
2. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต และมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ มาตรา 67 (6)
(2) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ มาตรา67 (3)
(3) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬาการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ มาตรา68(4)
(4) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส มาตรา16(10)
(5) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย มาตรา 16(12)
(6) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน มาตรา 16(5)
(7) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล มาตรา 16 (19)
3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มาตร67(4)
(2) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มาตรา 67(8)
(3) การผังเมือง มาตรา68(13)
(4) จัดให้มีที่จอดรถ มาตรา16(3)
(5) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง มาตรา 16(17)
(6) การควบคุมอาคาร มาตรา 16(28)
4. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชย์กรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว มาตรา68(6)
(2) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์ มาตรา 68(5)
(3) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร มาตรา68 (7)
(4) ให้มีตลาด มาตรา68(10)
(5) การท่องเที่ยว มาตรา68(11)
(6) กิจการเกี่ยวกับการพาณิช มาตรา 68(12)
(7) การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ มาตรา 16(6)
(8) การพาณิชย์กรรมและการส่งเสริมการลงทุน มาตรา 16(7)
5. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่
เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาตรา67(7)
(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สวนสาธารณะ รวมทั้งกำจัดขยะ
มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล มาตรา 67(2)
6. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของ ท้องถิ่น มาตรา67 (8)
(2) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มาตรา 67(5)
-6-
(3) การจัดการศึกษา มาตรา16(9)
(4) การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงานของท้องถิ่น มาตรา 67 (5)(18)
7. ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) สนับสนุนหน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ในการพัฒนาท้องถิ่น มาตรา66 ตามอำนาจหน้าที่ของ อบต.
(2) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย โดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากร
ให้ตามความจำเป็นและสมควร มาตรา 67(9)
(3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการพัฒนาท้องถิ่น มาตรา16 (16)
(4) การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น มาตรา66
(5) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกัน มาตรา(66) (67)
ภารกิจทั้ง 7 ด้าน ตามกฎหมายกำหนดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนตำบล สามารถจะแก้ไข
ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง ได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ ประกอบด้วยการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบล จะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นสำคัญ
หมายเหตุ : มาตรา 66,67,68 หมายถึง ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 16 หมายถึง พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542
ภารกิจหลักและภารกิจรองที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะดำเนินการ
ภารกิจหลัก
๑. ด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
๒. ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
๓. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
๔. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๕. ด้านการพัฒนาการเมืองและการบริหาร
๖. ด้านการส่งเสริมการศึกษา
๗. ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ภารกิจรอง
๑. การฟื้นฟูวัฒนธรรมและส่งเสริมประเพณี
๒. การสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพกลุ่มอาชีพ
๓. การส่งเสริมการเกษตรและการประกอบอาชีพทางการเกษตร
๔. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน
สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง เลขที่ 212 หมู่ที่ 1 ตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 57120
หมายเลขโทรศัพท์ 053-676468 หมายเลขโทรสาร 053-160952
E-Mail pahung@hotmail.co.th
ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2560